เมนู

คนส่วนมากรักใคร่.
วาจาชื่อว่า คนส่วนมากพอใจ เพราะเป็นที่พอใจ คือ ทำความ
เจริญใจแก่คนส่วนมาก โดยที่คนส่วนมากรักใคร่นั่นเอง.
อกุศลเจตนาที่ให้เกิดกายประโยคและวจีประโยค อันเป็นเหตุให้
เข้าใจเรื่องที่ไม่มีประโยชน์ ชื่อว่า สัมผัปปลาป. สัมผัปปลาปนั้น ชื่อว่า
มีโทษน้อย เพราะมีอาเสวนะน้อย ชื่อว่า มีโทษมาก เพราะมีอาเสวนะ
มาก.

สัมผัปปลาบนั้น มีองค์ 2 คือ


นิรตฺถกกถาปุเรกฺขารตา

มุ่งกล่าวถ้อยคำที่ไร้ประโยชน์มีเรื่อง
ภารตยุทธ และเรื่องชิงนางสีดา เป็นต้น.
2. ตถารูปีกถากถนํ กล่าวเรื่องเช่นนั้น ชื่อว่า พูดถูกกาล เพราะ
พูดตามกาล อธิบายว่า พูดกำหนดเวลาให้เหมาะแก่เรื่องที่จะพูด.
ชื่อว่า พูดแต่คำจริง เพราะพูดคำจริง แท้ แน่นอน ตามสภาพ
เท่านั้น.
ชื่อว่า พูดอิงประโยชน์ เพราะพูดทำให้อิงประโยชน์ปัจจุบัน และ
ประโยชน์ภายหน้านั่นเอง.
ชื่อว่า พูดอิงธรรม เพราะพูดทำให้อิงโลกุตตรธรรม 9.
ชื่อว่า พูดอิงวินัย เพราะพูดให้อิงสังวรวินัย และปหานวินัย.
โอกาสที่ตั้งไว้ เรียกว่าหลักฐาน. คำชื่อว่า มีหลักฐาน เพราะ
หลักฐานของคำนั้นมีอยู่ อธิบายว่า พูดคำที่ควรจะต้องเก็บไว้ในหัวใจ.
บทว่า กาเลน ความว่า และแม้เมื่อพูดคำเห็นปานนี้ ก็มิได้พูด

โดยกาลอันไม่ควร ด้วยคิดว่า เราจักพูดคำที่มีหลักฐาน ดังนี้ อธิบายว่า
แต่พูดพิจารณาถึงกาลอันควรเท่านั้น.
บทว่า สาปเทสํ ความว่า มีอุปมา มีเหตุ.
บทว่า ปริยนฺตวตึ ความว่า แสดงกำหนดไว้แล้ว พูดโดยประการ
ที่กำหนดแห่งคำนั้นจะปรากฏ.
บทว่า อตฺถสญฺหิตํ ความว่า พูดคำที่ประกอบด้วยประโยชน์
เพราะผู้พูดจำแนกไปโดยนัยแม้มิใช่น้อย ก็ไม่อาจให้สิ้นสุดลงได้. อีก
อย่างหนึ่ง พูดคำที่ประกอบด้วยประโยชน์ เพราะประกอบด้วยประโยชน์
ที่ผู้พูดถึงประโยชน์นั้นกล่าวถึง มีอธิบายว่า มิใช่ตั้งเรื่องไว้เรื่องหนึ่ง แล้ว
ไปพูดอีกเรื่องหนึ่ง.
บทว่า พีชคามภูตคามสมารมฺภา ความว่า เว้นขาดจากการพราก
คือจากการโค่น ด้วยภาวะแห่งกิริยามีการตัด การทำลาย และการเผา
เป็นต้น ซึ่งพืชคาม 5 อย่าง คือพืชเกิดแต่ราก 1 พืชเกิดแต่ลำต้น 1
พืชเกิดแต่ข้อ 1 พืชเกิดแต่ยอด 1 พืชเกิดแต่เมล็ด 1 และซึ่งภูตคาม
มีหญ้าและต้นไม้สีเขียว เป็นต้น อย่างใดอย่างหนึ่ง.
บทว่า เอกภตฺติโก ความว่า ภัตมี 2 มื้อ คือ ภัตที่พึงกินเวลา
เช้า 1 ภัตที่พึงกินเวลาเย็น 1 ในภัต 2 มื้อนั้น ภัตที่พึงกินเวลาเช้า
กำหนดด้วยเวลาภายในเที่ยงวัน ภัตที่พึงกินเวลาเย็นนอกนี้ กำหนดด้วย
เวลากินเที่ยงวันภายในอรุณขึ้น ฉะนั้น แม้จะฉันสัก 10 ครั้ง ในเวลา
ภายในเที่ยงวัน ก็เป็นผู้ชื่อว่าฉันหนเดียวนั่นเอง. ที่ตรัสว่า มีภัตเดียว
ดังนี้ ทรงหมายถึงภัตที่พึงกินเวลาเช้านั้น.
ชื่อว่า รตฺตุปรโต เพราะเว้นจากการฉันในราตรีนั้น. การฉันใน

เมื่อเลยเวลาเที่ยงวันไป จนถึงเวลาพระอาทิตย์ตก ชื่อว่า วิกาลโภชน์.
ชื่อว่า งดการฉันในเวลาวิกาล เพราะงดการฉันแบบนั้น. งดเมื่อ
ไร ? งดตั้งแต่วันผนวช ณ ฝั่งแม่น้ำอโนมา.
ชื่อว่า ดูการเล่นอันเป็นข้าศึกแก่กุศล เพราะการดูเป็นข้าศึก คือ
เป็นศัตรู เพราะขัดต่อพระศาสนา. ที่ว่า จากการฟ้อนรำ ขับร้อง
ประโคมดนตรี และดูการเล่นอันเป็นข้าศึก คือ จากการฟ้อนรำ ขับร้อง
และประโคมด้วยตนเอง ด้วยอำนาจฟ้อนเองและให้ผู้อื่นฟ้อน เป็นต้น
และการดูการฟ้อน เป็นต้น โดยที่สุดที่เป็นไปด้วยอำนาจการฟ้อนของ
นกยูง เป็นต้น อันเป็นข้าศึก. จริงอยู่ การประกอบด้วยตนเอง ซึ่งกิจมี
การฟ้อนรำ เป็นต้นก็ดี การให้ผู้อื่นประกอบก็ดี และการดีที่เขาประกอบ
ก็ดี ไม่ควรแก่ภิกษุทั้งหลายเลย และไม่ควรแก่ภิกษุณีทั้งหลายด้วย.
ในบรรดาเครื่องประดับทั้งหลายมีดอกไม้ เป็นต้น ชื่อว่า มาลา
ได้แก่ดอกไม้อย่างใดอย่างหนึ่ง.
ชื่อว่า คันธะ ได้แก่ คันธชาตอย่างใดอย่างหนึ่ง.
ชื่อว่า วิเลปนะ ได้แก่ เครื่องประเทืองผิว.
ในบรรดาเครื่องประดับเหล่านั้น บุคคลเมื่อประดับ ชื่อว่า ทัดทรง.
เมื่อทำร่างกายส่วนที่พร่องให้เต็ม ชื่อว่า ประดับ. เมื่อยินดีด้วยอำนาจ
ของหอม และด้วยอำนาจการประเทืองผิว ชื่อว่า ตกแต่ง. เหตุเรียกว่า
ฐานะ ฉะนั้น จึงมีความว่า คนส่วนมากกระทำการทัดทรงมาลา เป็นต้น
เหล่านั้น ด้วยเจตนาเป็นเหตุให้ทุศีลใด พระสมณโคดมเว้นขาดจากเจตนา
เป็นเหตุให้ทุศีลนั้น.

ที่นอนเกินประมาณ เรียกว่า ที่นอนสูง เครื่องปูลาดที่เป็นอกัปปิยะ
เรียกว่า ที่นอนใหญ่ ความว่า ทรงเว้นขาดจากที่นอนสูง ที่นอนใหญ่
นั้น.
บทว่า ชาตรูปํ ได้แก่ทอง บทว่า รชตํ ได้แก่อกัปปิยะที่บัญญัติ
เรียกว่า กหาปณะ เป็นมาสกทำด้วยโลหะ มาสกทำด้วยครั่ง มาสกทำ
ด้วยไม้. พระสมณโคดมทรงเว้นขาดจากการรับทองและเงินทั้ง 2 นั้น.
อธิบายว่า พระสมณโคดมไม่จับทองและเงินนั้นเอง ไม่ให้คนอื่นจับไม่
ยอมรับทองและเงินที่เขาเก็บไว้เพื่อคน.
บทว่า อามกธญฺญมปฏิคฺคหาณา ความว่า จากการรับธัญชาติดิบ
ทั้ง 7 อย่าง กล่าวคือ ข้าวสาลี ข้าวเปลือก ข้าวเหนียว ข้าวละมาน
ข้าวฟ่าง ลูกเดือย และหญ้ากับแก้. อนึ่ง มิใช่แต่การรับธัญชาติดิบเหล่านี้
อย่างเดียวเท่านั้น แม้การจับต้องก็ไม่ควรแก่ภิกษุทั้งหลายเหมือนกัน.
ในบทว่า อามกมํสปฏิคฺคหณา นี้ ความว่า การรับเนื้อและปลาดิบ
เว้นแต่ที่ทรงอนุญาตไว้เฉพาะ ย่อมไม่ควรแก่ภิกษุทั้งหลาย การจับต้อง
ก็ไม่ควร.
ในบทว่า อิตฺถีกุมาริกปฏิคฺคหณา นี้ ความว่า หญิงที่มีชายครอบ
ครอง ชื่อว่า สตรี หญิงนอกนี้ ชื่อว่า กุมารี. ทั้งการรับทั้งการจับต้อง
หญิงเหล่านั้น ไม่ควรทั้งนั้น.
ในบทว่า ทาสีทาสปฏิคฺคหณา นี้ ความว่า การรับทาสีและทาส
เหล่านั้นไว้เป็นทาสีและทาสเท่านั้น ไม่ควร แต่เมื่อเขาพูดว่า ขอถวาย
เป็นกัปปิยการก ขอถวายเป็นคนงานวัด ดังนี้ จะรับก็ควร.
นัยแห่งกัปปิยะและอกัปปิยะ ในการรับทรัพย์สินแม้มีแพะและแกะ

เป็นต้น มีไร่นาและที่ดินเป็นที่สุด พึงพิจารณาตามพระวินัย.
ในบรรดาไร่นาและที่ดินนั้น ที่ชื่อว่า นา ได้แก่พื้นที่เพาะ
ปลูกปุพพัณณชาติ ที่ชื่อว่า ไร่ ได้แก่พื้นที่เพาะปลูกอปรัณณชาติ.
อีกอย่างหนึ่ง พื้นที่ที่ทั้ง 2 อย่างงอกขึ้น ชื่อว่า นา ส่วนแห่งพื้นที่ที่ไม่
ได้ใช้ประโยชน์ทั่ง 2 นั้น ชื่อว่า ที่ดิน. อนึ่ง แม้บ่อและบึงเป็นต้น
ก็สงเคราะห์เข้าในอธิการนี้เหมือนกัน ด้วยยกศัพท์ไร่นาและที่ดินเป็น
หัวข้อ.
งานของทูต เรียกว่า การเป็นทูต ได้แก่การรับหนังสือ หรือ
ข่าวสาส์น ที่พวกคฤหัสถ์ใช้ไปในที่นั้น ๆ.
การเดินรับใช้จากเรือนนี้ไปเรือนนั้น เล็ก ๆ น้อย ๆ เรียกว่า การ
รับใช้.
การกระทำทั่ง 2 อย่างนั้น ชื่อว่า การประกอบเนือง ๆ เพราะ-
ฉะนั้น พึงทราบความในข้อนี้อย่างนี้ว่า จากการประกอบเนือง ๆ ซึ่งการ
เป็นทูต และการรับใช้.
บทว่า กยวิกฺกยา แปลว่า จากการซื้อและการขาย.
ในการโกงทั้งหลาย มีการโกงด้วยตาชั่งเป็นต้น มีวินิจฉัยดังต่อ
ไปนี้
การโกง ได้แก่การลวง. ในการโกงนั้น ชื่อว่า การโกงด้วยตาชั่ง
มี 4 อย่าง คือ
1. รูปกูฏํ การโกงด้วยรูป
2. องฺคกูฏํ การโกงด้วยอวัยวะ
3. คหณกูฏํ การโกงด้วยการจับ

4. ปฏิจฺฉนฺนกูฏํ การโกงด้วยกำบังไว้.
ในการโกงด้วยตาชั่ง อย่างนั้น ที่ชื่อว่า การโกงด้วยรูป ได้แก่
ทำตาชั่ง 2 คันให้มีรูปเท่ากัน เมื่อรับ รับด้วยตาชั่งคันใหญ่ เมื่อให้ ให้
ด้วยตาชั่งคันเล็ก.
ที่ชื่อว่า การโกงด้วยอวัยวะ ได้แก่เมื่อรับ ใช้มือกดคันชั่งข้าง
หลังไว้ เมื่อให้ ใช้มือกดคันชั่งข้างหน้าไว้นั่นเอง.
ที่ชื่อว่า การโกงด้วยการจับ ได้แก่เมื่อรับ ก็จับเชือกไว้ที่โคน
ตาชั่ง เมื่อให้ ก็จับเชือกไว้ที่ปลายตาชั่ง.
ที่ชื่อว่า การโกงด้วยกำบังไว้ ได้แก่ทำตาชั่งให้เป็นโพรงแล้ว
ใส่ผงเหล็กไว้ภายใน เมื่อรับ ก็เลื่อนผงเหล็กนั้นไปข้างปลายตาชั่ง เมื่อ
ให้ ก็เลื่อนผงเหล็กไปข้างหัวตาชั่ง.
ถาดทอง เรียกว่า ทองสัมฤทธิ์ การลวงด้วยถาดทองนั้น ชื่อว่า
การโกงด้วยสัมฤทธิ์. โกงอย่างไร ? ทำถาดทองไว้ใบหนึ่ง แล้วทำถาด
โลหะอื่นสองสามใบให้มีสีเหมือนทอง ต่อจากนั้นไปสู่ชนบท เข้าไปยิ่ง
ตระกูลมั่งคั่งตระกูลหนึ่ง กล่าวว่า ท่านทั้งหลายจงซื้อถาดทองคำ เมื่อถูก
คนอื่น ๆ ถามราคา ประสงค์จะขายราคาเท่ากัน ต่อแต่นั้น เมื่อเขาถามว่า
จะรู้ได้อย่างไรว่า ภาชนะเหล่านี้เป็นทอง บอกว่า ทดลองดูก่อนแล้วจึง
รับไป แล้วครูดถาดทองลงที่หิน ขายถาดทั้งหมดแล้วจึงไป.
ที่ชื่อว่า การโกงด้วยเครื่องตวงวัด มี 3 อย่าง คือ ทำลายใจกลาง
ทำลายยอด และทำลายเชือก.
ใน 3 อย่างนั้น การโกงด้วยเครื่องตวงทำลายใจกลาง ได้ในเวลาตวง
เนยใส และน้ำมันเป็นต้น. ก็เมื่อจะรับเอาเนยใส และน้ำมันเป็นต้นเหล่า

นั้น ใช้เครื่องตวงมีช่องข้างล่าง บอกให้ค่อย ๆ เท แล้วให้ไหลลงใน
ภาชนะของตนเร็ว ๆ รับเอาไป เมื่อให้ ปิดช่องไว้ให้เต็มโดยพลันให้ไป.
การโกงด้วยเครื่องตวงทำลายยอด ได้ในเวลาตวงงาและข้าวสาร
เป็นต้น. ก็เมื่อรับเอางาและข้าวสารเป็นต้นเหล่านั้น ค่อย ๆ ทำให้สูงขึ้น
เป็นยอดแล้วรับเอาไป เมื่อให้ ก็ทำให้เต็มโดยเร็ว ตัดยอดให้ไป.
การโกงด้วยเครื่องวัดทำลายเชือก ได้ในเวลาวัดไร่นาและที่ดิน
เป็นต้น ด้วยว่า เมื่อไม่ให้สินจ้าง ไร่นาแม้ไม่ใหญ่ ก็วัดทำให้ใหญ่.

การรับสินจ้างเป็นต้น มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้


บทว่า ฉ้อโกง ได้แก่การรับสินบนเพื่อกระทำผู้เป็นเจ้าของให้ไม่
เป็นเจ้าของ.
บทว่า ลวง ได้แก่การล่อลวงผู้อื่นด้วยอุบายนั้น ๆ. ในข้อนั้นมี
ตัวอย่างอยู่เรื่องหนึ่งดังนี้
เล่ากันว่า มีนายพรานคนหนึ่งจับกวางและลูกกวางมา นักเลงคน
หนึ่งถามนายพรานคนนั้นว่า พ่อมหาจำเริญ กวางราคาเท่าไร ? ลูกกวาง
ราคาเท่าไร ? เมื่อนายพรานตอบว่า กวางราคา 2 กหาปณะ ลูกกวาง
ราคากหาปณะเดียว นักเลงก็ให้กหาปณะหนึ่ง รับเอาลูกกวางมา เดินไป
ได้หน่อยหนึ่งแล้วกลับมาบอกว่า พ่อมหาจำเริญ ฉันไม่ต้องการลูกกวาง
ท่านจงให้กวางแก่ฉันเถิด นายพรานตอบว่า ถ้าเช่นนั้น ท่านจงให้ 2
กหาปณะซิ. นักเลงกล่าวว่า พ่อมหาจำเริญ ทีแรกฉันให้ท่านหนึ่ง
กหาปณะแล้วมิใช่หรือ ? นายพรานตอบว่า ถูกแล้ว ท่านให้ไว้แล้ว.
นักเลงกล่าวว่า ท่านจงรับเอาลูกกวางแม้น ไป เมื่อเป็นอย่างนี้ กหาปณะ
นั้นและลูกเนื้อซึ่งมีราคาหนึ่งกหาปณะนี้ รวมเป็น 2 กหาปณะ. นาย